วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
       
       อาจารย์ให้รำวงจากนั้นอาจารย์ก็จะมีสถานการณ์ต่างๆ สุดท้ายให้จับกลุ่มละ 5 คน เขียนบทนิทานแล้วมาแสดงทีละกลุ่ม จากนั้นก็ทำกิจกรรมรำวงอีกครั้งจับกลุ่มใหม่ห้ามให้สมาชิกซ้ำกันกับกลุ่มเดิม โดยให้แต่กลุ่มคิดเคื่องเคาะจังหวะประกอบเพลงอะไรก็ได้




อาจารย์อธิบายการทำกิจกรรม






มีการจัดโต๊ะนั่งเรียนใหม่เป็นรูปวงกลม






อาจารย์ร้องเพลงรำวงให้นักศึกษารำไปรอบๆห้องเรียน





เมื่อรำวงจบลง อาจารย์ก็กำหนดสถานการณ์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม





กลุ่มที่ 1 แสดงนิทานเรื่อง ถ้าฉันเดินได้







กลุ่มที่ 2 แสดงนิทานเรื่อง  ยีราฟผู้กระหายน้ำ






กลุ่มที่ 3  กลุ่มดิฉันแสดงนิทานเรื่อง ป่ามหัศจรรย์






เนื้อเรื่องนิทานที่กลุ่มดิฉันช่วยกันแต่ง 











กลุ่มที่ 4 แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก











กลุ่มที่ 5  แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก





กลุ่มดิฉันร้องเพลงทะเลแสนงามประกอบการเคาะจังหวะ


    รอบแรกเครื่องเคาะจังหวะซ้ำกัน อาจารย์ก็เลยแนะนำว่าถ้าเราตั้งมาตรฐานสูง งานเราก็จะออกมาดี 
กลุ่มดิฉันก็เลยตกลงกันขอออกแบบเครื่องเคาะจังหวะใหม่อีกครั้ง โดยเพื่อนคนที่ 1 ทำปาก คนที่ 2 ตบอก คนที่ 3 กำปั้นตบกับมือีกข้าง  คนที่ 4 กระทึบเท้า  คนที่ 5 ดีดนิ้วมือ และดิฉันตบแขน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- การแสดงนิทานสามารถนำมาประยุกต์สอนเด็กอนุบาลได้ เช่น ให้เด็กๆเป็นตัวละครในเรื่อง  เพื่อความสนุกสนานก็อาจจะมีบทพากย์ของตัวละครเป็นบทสั้นๆ ในนิทานก็ควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นข้อคิด
- การร้องเพลงรำวง  ให้นักศึกษารำวง จากนั้นอาจารย์ก็มีสถานการณ์ให้ เช่น รถ 3 ล้อ ชนกับรถ 10 ล้อ ให้จับกลุ่มตามจำนวนล้อ ก็จะทำให้เราเกิดกระบวนการคิดรถมีทั้งหมดกี่ล้อ สำหรับเด็กปฐมวัย ก็อาจจะปรับให้เป็นสถานการณ์ง่ายๆ เช่น รวมเงิน 2 บาทกับ 3 บาท 
-การเคาะจังหวะจากส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เรารู้จักคิดแปลกใหม่ เสียงมันเกิดจากส่วนต่างๆทำให้เสียงต่างกัน ครูผู้สอนอาจจะกำหนดง่ายๆให้กับเด็กๆ เช่น ให้เด็กๆสมมติตนเองเป็นเครื่องเคาะจังหวะ แต่มีกติกาว่าเด็กๆต้องไม่ใช้วิธีการเคาะจังหวะที่ซ้ำกับกับเพื่อนๆในกลุ่มเดียวกัน


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : กิจกรรมที่มีการแสดงก็อยากฝึกตัวเองให้ทำบ่อยๆ เพราะอยากเก่งในด้านนี้ และที่
สำคัญอยากให้งานออกมาดี เวลาสอนเด็กๆจะได้เป็นแบบอย่างให้เด็กๆได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายๆคนมีความสนุกสนานกับการเรียน ทุกคนแสดงนิทานและการเคาะจังหวะ ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ทุกคนกล้าแสดงออก

ประเมินอาจารย์ : วันนี้ก็เข้าใจในคำพูดที่อาจารย์สอน หนูคิดเสมอว่าลูกศิษย์ย่อมมีครู ถ้าเราทำกับ
อาจารย์แบบไหน ในอนาคตกลัวลูกศิษย์ทำกับเราแบบบนั้น ขอบคุณอาจารย์ที่ให้แง่คิดใหม่ๆเสมอๆ บางที่ในจุดๆหนึ่งอาจารย์ไม่พูดขึ้นมา เราอาจจะวิเคราะห์ไม่ได้เลยว่าเราควรทำอย่างไร 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น