วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันจันทร์  ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

       สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ อาจารย์นัดหมายให้พบในวันพุธ ที่ 9  เวลา 9.00 น. เพื่ออธิบายเรื่องการสอบปลายภาค เมื่อถึงเวลา อาจารย์ได้แจกสีเมจิกกับแผ่นข้อสอบปลายปลายภาค  จากนั้นอาจารย์นับตัวปั๊ม เซ็คชื่อและแจกรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนๆทั้งสองเซค




บรรยากาศในห้องเรียน












ใบข้อสอบที่หนูได้ คือ "หน่วย มะพร้าว"






สีเมจิกที่อาจารย์แจกให้







ตัวปั๊มเข้าเรียนของหนูเอง







ขอบคุณสำหรับรางวัลเด็กดีในปีนี้นะคะ
หนูรู้สึกว่ามันมีคุณค่าต่อจิตใจมากค่ะ 






ขอบคุณสำหรับสีเมจิก ที่มีมาให้พวกหนูทุกๆปีค่ะ 5555555






แรงบันดาลใจ





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สำหรับการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็ได้ไอเดียดีๆจากการทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้สอนมาตลอดทั้งเทอม เช่น การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้  การทำหนังสือตัวเลข การจัดกิจกรรมแบบ STEM และ STEAM และกิจกรรมอื่นๆที่อาจารย์นำมาสอน กิจกรรมเหล่านี้สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

การประมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้หนูรู้สึกว่าตัวเองเบลอมาก ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะ ในสมองหนูคิดแต่ว่าอาจารย์เรียกออกไปเอาหนังสือ จากนั้นก็ดีใจ ไม่คิดอะไร ไม่ฟังอะไรเลย หนูชอบรางวัลที่อาจารย์นำมาแจก ต้องขอบคุณมากๆ ขอบคุณสำหรับทุกกิจกรรมที่อาจารย์สอน หนูจะพยายามจดจำและนำไปปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆนะคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนมีงานเยอะมากมายหลายวิชา แต่วันนี้ก้ได้เห็นเพื่อนนำงานมาทำในห้องเรียน เพื่อทำให้เสร็จทันเวลา ทุกคนมีความตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบาย เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น ตารางเรียนของแต่ละเซค การส่งงานต่างๆ

ประเมินอาารย์ : วันนี้อาจารย์ก็เตรียมกำหนดการ มีการแจกของรางวัลและอธิบายข้อสอบปลายภาคและกำหนดการส่งงานต่างๆได้ละเอียดดีค่ะ 




วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
       
       อาจารย์ให้รำวงจากนั้นอาจารย์ก็จะมีสถานการณ์ต่างๆ สุดท้ายให้จับกลุ่มละ 5 คน เขียนบทนิทานแล้วมาแสดงทีละกลุ่ม จากนั้นก็ทำกิจกรรมรำวงอีกครั้งจับกลุ่มใหม่ห้ามให้สมาชิกซ้ำกันกับกลุ่มเดิม โดยให้แต่กลุ่มคิดเคื่องเคาะจังหวะประกอบเพลงอะไรก็ได้




อาจารย์อธิบายการทำกิจกรรม






มีการจัดโต๊ะนั่งเรียนใหม่เป็นรูปวงกลม






อาจารย์ร้องเพลงรำวงให้นักศึกษารำไปรอบๆห้องเรียน





เมื่อรำวงจบลง อาจารย์ก็กำหนดสถานการณ์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม





กลุ่มที่ 1 แสดงนิทานเรื่อง ถ้าฉันเดินได้







กลุ่มที่ 2 แสดงนิทานเรื่อง  ยีราฟผู้กระหายน้ำ






กลุ่มที่ 3  กลุ่มดิฉันแสดงนิทานเรื่อง ป่ามหัศจรรย์






เนื้อเรื่องนิทานที่กลุ่มดิฉันช่วยกันแต่ง 











กลุ่มที่ 4 แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก











กลุ่มที่ 5  แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก





กลุ่มดิฉันร้องเพลงทะเลแสนงามประกอบการเคาะจังหวะ


    รอบแรกเครื่องเคาะจังหวะซ้ำกัน อาจารย์ก็เลยแนะนำว่าถ้าเราตั้งมาตรฐานสูง งานเราก็จะออกมาดี 
กลุ่มดิฉันก็เลยตกลงกันขอออกแบบเครื่องเคาะจังหวะใหม่อีกครั้ง โดยเพื่อนคนที่ 1 ทำปาก คนที่ 2 ตบอก คนที่ 3 กำปั้นตบกับมือีกข้าง  คนที่ 4 กระทึบเท้า  คนที่ 5 ดีดนิ้วมือ และดิฉันตบแขน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- การแสดงนิทานสามารถนำมาประยุกต์สอนเด็กอนุบาลได้ เช่น ให้เด็กๆเป็นตัวละครในเรื่อง  เพื่อความสนุกสนานก็อาจจะมีบทพากย์ของตัวละครเป็นบทสั้นๆ ในนิทานก็ควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นข้อคิด
- การร้องเพลงรำวง  ให้นักศึกษารำวง จากนั้นอาจารย์ก็มีสถานการณ์ให้ เช่น รถ 3 ล้อ ชนกับรถ 10 ล้อ ให้จับกลุ่มตามจำนวนล้อ ก็จะทำให้เราเกิดกระบวนการคิดรถมีทั้งหมดกี่ล้อ สำหรับเด็กปฐมวัย ก็อาจจะปรับให้เป็นสถานการณ์ง่ายๆ เช่น รวมเงิน 2 บาทกับ 3 บาท 
-การเคาะจังหวะจากส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เรารู้จักคิดแปลกใหม่ เสียงมันเกิดจากส่วนต่างๆทำให้เสียงต่างกัน ครูผู้สอนอาจจะกำหนดง่ายๆให้กับเด็กๆ เช่น ให้เด็กๆสมมติตนเองเป็นเครื่องเคาะจังหวะ แต่มีกติกาว่าเด็กๆต้องไม่ใช้วิธีการเคาะจังหวะที่ซ้ำกับกับเพื่อนๆในกลุ่มเดียวกัน


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : กิจกรรมที่มีการแสดงก็อยากฝึกตัวเองให้ทำบ่อยๆ เพราะอยากเก่งในด้านนี้ และที่
สำคัญอยากให้งานออกมาดี เวลาสอนเด็กๆจะได้เป็นแบบอย่างให้เด็กๆได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายๆคนมีความสนุกสนานกับการเรียน ทุกคนแสดงนิทานและการเคาะจังหวะ ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ทุกคนกล้าแสดงออก

ประเมินอาจารย์ : วันนี้ก็เข้าใจในคำพูดที่อาจารย์สอน หนูคิดเสมอว่าลูกศิษย์ย่อมมีครู ถ้าเราทำกับ
อาจารย์แบบไหน ในอนาคตกลัวลูกศิษย์ทำกับเราแบบบนั้น ขอบคุณอาจารย์ที่ให้แง่คิดใหม่ๆเสมอๆ บางที่ในจุดๆหนึ่งอาจารย์ไม่พูดขึ้นมา เราอาจจะวิเคราะห์ไม่ได้เลยว่าเราควรทำอย่างไร 




วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 เดือนพศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

        การสอนเคลื่อนไหว เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ศิลปสร้างสรรค์ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนำมาจัดกิจกรรมบูรณาการสู่กระบวนการคิด
จากนั้นก็ได้นั่งเป็นกลุ่มย่อยๆเพื่อเลือกกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและออกแบบขั้นสอนการสอนของแต่ละกลุ่ม เมื่อเลือกกิจกรรมและเขียนขั้นตอนเสร็จแค่ละกลุ่มก็ออกมาสอน



การเรียนการสอนในวันนี้
















กลุ่มที่ 1 สอนเคลื่อนไหวตามข้อตกลง











กลุ่มที่ 2 สอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง










กลุ่มที่ 3 สอนการเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม










กลุ่มที่ 4 สอนการเคลื่อนไหวตามำบรรยาย












กลุ่มที่ 5 กลุ่มดิฉันสอนการเคลื่อนไหวแบบจำ









กลุ่มที่ 6 สอนการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง ให้เด็กนำปากกาต่อเป็นรูปดอกไม้ เด็กๆก็ได้ริเริ่มการออกแบบดอกไม้



การประมินผล
ประเมินตนเอง : ในขั้นตอนการสอนก็ยังไม่แม่นยำ ยังต้องพัฒนาการสอนอีกเยอะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนสามารถสอนได้ในระดับดี มีส่วนน้อยที่ต้องปรับปรุง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายขั้นการสอนเคลื่อนไหวที่เชื่อมการคิดได้ละเอียดดี


วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้ก็กิจกรรมแรกที่ทำในห้องเรียน คือนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้  โดยเพื่อนที่ทำประเภททดลองมานำเสนอเป็นกลุ่มแรกๆ  จากนั้นอาจารย์ก็ให้คิดประเด็นปัญหาจากการประดิษฐ์สิ่งของ

สิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำเสนอ
1.โฮโลแกรมภาพสามมิติจากแผ่นใส
2.เตาอบป๊อบคอนจากกระป๋อง
3.รถขับเคลื่อนที่ด้วยหนังยางจากขวกน้ำ
4.เตาปิ้งขนมปังจากกระป๋อง
5.โคมไฟจากขวดน้ำ
6.ที่ล้างจานจากกล่อง
7.เตาแก๊สจากกล่อง
8.หมวกจากกล่องนม
9.กระเป๋าจากกล่องนม
10.แคทเชียร์จากกล่อง
11.ถังขยะจากขวดน้ำ
12.เสื่อจากกล่องนม
13.บัวรดน้ำจากกระป๋อง
14.บัวรดน้ำจากขวด
15.กล่องดินสอจากขวด
16.โต๊ะเขียนหนังสือจากกล่อง
17.ตู้ลิ้นชักจากกล่อง
18.ที่รอยเชือกรองเท้า
19.ที่ทำความสะอาดพื้นรองเท้าจากฝาขวดน้ำ
20.ฝาชีจากขวดน้ำ
21.ที่คาดผมจากที่เปิดกระป๋อง
22.ตู้เย็นจากขวดน้ำ
23.เครสโทรศัพท์จากกระป๋อง

รูปกิจกรรมการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้

















ถังขยะจากขวดน้ำ





อุปกรณ์ในการทำ
1.ขวดน้ำ   28  ขวด
2.เชือก  1 ม้วน
3.กล่อง 1 กล่อง
4.กระดาษแข็ง 1 แผ่น
5.ปืนกาว 1 อัน
6.ลวด 1 ขด
7.คัตเตอร์ 1 อัน 

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำขวดน้ำทั้ง 28 ขวด ใช้คัตเตอร์เจาะรูข้างขวดน้ำบริเวณตรงข้ามกัน 2 รู โดยวัดจากก้นขวดขึ้นมา 6 ซ.ม.





2.นำขวดน้ำ 2 ขวด เอาส่วนฝาขวดน้ำประกบคู่กัน โดยใช้ปืนกาวเพื่อยึดให้ติดกัน






3.ใช้เชือกมัดปลายลวดขนาด 15 ซ.ม.  งอปลายลวดเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เชือกหลุด สอดเข้าข้างขวดน้ำที่
เจาะรูไว้ 7 คู่ไว้ด้วยกัน และทำเหมือนเดิมอีก 7 คู่ โดยให้เหลือปลายเชือกที่สอดข้างขวดน้ำ ข้างละประมาณ 5 ซ.ม.









4.นำขวดน้ำทั้ง 2 ส่วนประกอบกัน โดยการมัดเชือกให้แน่น ก็จะได้ถังขยะเป็นรูปวงกลม





5.นำกระดาษแข็งวางไว้ข้างล่างถังขยะ ใช้ดินสอร่าง จากนั้นใช้กรรไกรตัดก็จะได้ฐานถังขยะเป็นรูปวงกลม  ใช้กล่องติดทับกระดาษแข็งอีกครั้ง เพื่อยึดให้ฐานมีความแข็งแรง









6.นำรูปวงกลมติดเป็นฐานของถังขยะ








งบประมาณที่ใช้ในการทำถังขยะ
- เชือก       18   บาท
- ปืนกาว     20   บาท
- แท่งกาว   20   บาท
รวม 58 บาท



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การประดิษฐ์สิ่งของเหล่านี้สามารถนำไปสอนให้เด็กปฐมวัยได้ เช่น การประดิษฐ์ถังขยะจากขวดน้ำ ก็บอกให้เด็กๆช่วยกันหาขวดน้ำมาจากบ้าน แล้วครูก็พาเด็กๆประดิษฐ์ เพื่อเป็นการนำขวดน้ำที่เหลือจากการดื่มมาทำเป็นของใช้ที่ใช้งานได้ โดยไม่ต้องซื้อ


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ช่วงที่นำเสนองานรู้สึกว่าตัวเองพูดไม่รู้เรื่อง เนื่องจากไม่ได้เตรียมการนำเสนอมา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจนำเสนองานผลงานก็ออกมาสวยงามและแปลกใหม่บางอย่างดิฉันก็ไม่เคยเห็น เช่น ไฮโลแกรมภาพสามมิติ
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายการทำกิจกรรมต่างๆละเอียดดีและก็ใส่ใจการทำงานของนักศึกษา  ให้ความช่วยและดีมาก